Offer Category: สหกรณ์
เช็คด่วนข้อมูลบริการด้านการเงินอัพเดตล่าสุด 2567|2024
ที่มา :
สหกรณ์ คืออะไร?
หลายคนเคยอาจได้ยินคำว่า “สหกรณ์” กันมาบ้างแล้วตั้งแต่สมัยยังคงเป็นนักเรียนอยู่ แต่หลายต่อหลายคนอาจจะเผลอลืมความหมาย นิยามของสหกรณ์กันไปบ้าง โดยสหกรณ์ คือ รูปแบบหนึ่งขององค์กรเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็นองค์กรที่มีจำนวนสมาชิกมาร่วมกันก่อให้เกิดการจัดตั้งขึ้นผ่านการสมัครสมาชิกด้วยการลงเงินลงหุ้นร่วมกันนั่นเอง โดยสหกรณ์นั้นมีการจัดกระบวนการร่วมกันทั้งด้านการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และ/หรือบริการตามความปรารถนา รวมไปถึงตามผลประโยชน์อย่างเดียวกันของเหล่าสมาชิกภายในสหกรณ์ ทั้งนี้สมาชิกแต่ละสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงได้จำนวนหนึ่งเสียงเท่านั้นในการบริหารสหกรณ์ ซึ่งสิทธิ์เสียงที่ว่ามานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นสหกรณ์ที่ถืออยู่
เบื้องต้นจะขอยกตัวอย่างสหกรณ์ที่หลายท่านอาจจะคุ้นชิน ได้แก่ สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์สหกรณ์ประเภทการเกษตร และสหกรณ์ประเภทบริการ เป็นต้น โดยแต่ละประเภทของสหกรณ์นั้นถูกดำเนินการจัดตั้งโดยกลุ่มคณะบุคคลที่ร่วมกันดำเนินการบริหารจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งอาศัยการช่วยเหลือตนเอง ตลอดจนช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์นั่นเอง
ประวัติสหกรณ์โลก
หลังจากที่ทราบว่าสหกรณ์ คืออะไรไปแล้ว ต่อจากนี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของทั้งสหกรณ์ไทย และสหกรณ์โลกกันบ้าง โดยเริ่มต้นที่ประวัติสหกรณ์โลกเสียก่อน
คำว่า “สหกรณ์” นั้นถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกของโลกในทวีปยุโรปช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมระหว่างศตวรรษที่ 18-19 ซึ่งเกิดการนำครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน ส่งผลให้ต้องใช้ที่ดินเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นการซื้อที่ดินเป็นจำนวนมาก ผืนใหญ่ๆ ส่งผล ให้ประชาชน ชาวบ้านผู้ที่ไม่มีที่ดินทำมาหากินต้องทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อย้ายตนเองเข้าไปขายแรงงานในนครหลวง ตลอดจน จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นวงกว้างเกิดการการปลดคนออกจากโรงงาน ผู้ประกอบการรายย่อยล้มเลิกกิจการ ผู้คนมีฐานะที่จนลง ถดถอยลงมาจากอดีต สภาพสังคมในช่วงเวลาขณนั้นมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 พวก ได้แก่ พวกนายทุน และพวกชนชั้นแรงงาน จึงก่อให้เกิดการดิ้นรนเอาชีวิตรอด ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างสังคมรูปแบบใหม่ควบคู่ไปกับการสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน ซึ่งกินเวลาไปเนิ่นนาน จนท้ายที่สุดสามารถค้นพบวิธีการได้สำเร็จจึงเรียกสังคมรูปแบบใหม่นี้ว่า” การสหกรณ์ ” และได้แต่งตั้ง โรเบิร์ด โอเวน ให้เป็นบิดาของสหกรณ์โลกซึ่งเป็นบุคคลแรกที่สอนคนทั่วไปให้ร็จักกับคำว่าสหกรณ์นั่นเอง
ที่มา :
ประวัติสหกรณ์ไทย
เมื่อทราบถึงประวัติสหกรณ์โลกไปแล้ว ต่อไปนี้จะเล่าให้ผู้อ่านทุกท่านทราบถึงประวัติสหกรณ์ไทยกันบ้าง โดยสหกรณ์ของเมืองไทยได้เริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศไทยได้ริเริ่มการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากระบบเศรษฐกิจชนิดเลี้ยงตัวเองก้าวยกระดับขึ้นมาสู่ระบบเศรษฐกิจชนิดการค้า นั้นจึงเป็นสาเหตุหลักที่ประชาชนชาวไทยจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนในกระบวนการผลิต และใช้เงินในการดำรงชีพอย่างมากยิ่งขึ้น ผู้คนที่ประกอบอาชีพชาวนาจึงต้องหันไปกู้ยืงเงินจากคนอื่นที่มีมากกว่า ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเสียดอกเบี้ยที่สูงจากการถูกเอาเปรียบโดยนายทุน ซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการที่ชาวนาต้องมีฐานะทางการเงินยากจนลงเป็นอย่างมาก
สืบเนื่องมาจากปัญหาความยากจนของชาวนาดังกล่าว ภาครัฐในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาความยากจน และเพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยการจัดหาเงินทุนมาให้ชาวนากู้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งภาครัฐได้กำหนดวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี ได้แก่ การจัดตั้งธนาคารการเกษตรสำหรับออกเงินกู้แก่ชาวนา และอีกวิธีก็คือ การสหกรณ์ประเภทหาทุนนั่นเอง
โดยสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 โดยกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ภายใต้ชื่อ “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่มีผู้คนอยู่อาศัยน้อย อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่เพิ่งเกิดการอพยพมาจากทางตอนใต้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องการช่วยเหลือผู้ที่เพิ่งอพยพมาสู่พิษณุโลกซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ชาวนา ให้ผู้คนเหล่านี้สามารถลืมตาอ้าปากได้ อีกทั้งสหกรณ์ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งจูงใจให้ผู้คนจากจังหวัดอื่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพิษณุโลกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแล้ววันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปีจึงเป็นวันสหกรณ์แห่งชาติไทยนั่นเอง
หลักการสหกรณ์
สหกรณ์มีหลักการทั้งสิ้น 7 หลักการสหกรณ์ ประกอบด้วย การเปิดรับสมาชิก, การควบคุมสหกรณ์, การมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์, การปกครองตนเอง, การศึกษาการฝึกอบรม, การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ และการเอื้ออาทรต่อชุมชน โดยคำถามว่าหลักการสหกรณ์มีอะไรบ้าง สามารถพบคำตอบได้ดังนี้
- การเปิดรับสมาชิก : สหกรณ์เป็นหนึ่งในองค์การที่บุคคลทั่วไปสามารถสมัครมาเป็นสมาชิกได้อย่างอิสระแถมง่ายกว่าพวกสินเชื่อบัตรเครดิต โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการของสหกรณ์ และร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสหกรณ์ โดยสหกรณ์เปิดรับไม่จำกัดเพศ สังคม สัญชาติ เชื้อชาติ การเมือง และ/หรือศาสนา เป็นต้น
- การควบคุมสหกรณ์ : สหกรณ์เป็นหนึ่งในองค์การประชาธิปไตยที่ถูกควบคุมโดยสมาชิกซึ่งเป็นไปตามหลักของประชาธิปไตย หมายรวมไปถึงถูกควบคุมโดยผู้มีส่วนร่วมของสหกรณ์อย่างเข้มแข็ง และเข้มงวดในการกำหนดนโยบาย ตลอดจนการตัดสินใจของเหล่าสมาชิก ทั้งนี้ผู้ที่ถูกเลือกให้เป็นผู้แทนของสมาชิก บุคคลดังกล่าวต้องรับผิดชอบต่อเหล่าสมาชิกในสหกรณ์ ซึ่งสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงที่เท่ากัน หมายความถึงหนึ่งสมาชิกหนึ่งเสียงนั่นเอง ไม่เพียงแค่สหกรณ์ขั้นปฐมเท่านั้น แต่สหกรณ์ทุกระดับนั้นต้องดำเนินไปตามคอนเซปท์ของหลักการทางประชาธิปไตยด้วย
- การมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ : สมาชิกสหกรณ์ทุกคนมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจในสหกรณ์ อันเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย สมาชิกสหกรณ์จะได้รับผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่สหกรณ์กำหนดในอัตราที่จำกัด
- การปกครองตนเอง : สหกรณ์นั้นเป็นหนึ่งในหน่วยงาน องค์การที่อษศัยการพึ่งพา ตลอดจนการปกครองด้วยตนเองผ่านการควบคุมของสมาชิกภายในสหกรณ์ ทั้งนี้ในกรณีที่สหกรณ์มีความจำเป็นที่จะต้องทำการตกลง หรือทำข้อผูกพันกับองค์การอื่นๆ อันหมายรวมถึงองค์การจากภาครัฐ และหมายรวมถึงการแสวงหาเงินทุนจากองค์การภายนอก สหกรณ์ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องทำข้อตกลงภายใต้เงื่อนไขที่คำนึงถึงอำนวจการควบคุมตนเองของเหล่าสมาชิก เพื่อให้คงไว้ซึ่งอำนาจตามคอนเซปท์ประชาธิปไตย และคงไว้ซึ่งอิสระของสหกรณ์นั่นเอง
- การศึกษาการฝึกอบรม : สหกรณ์ต้องให้การศึกษารวมไปถึงการฝึกอบรมแก่สมาชิกของสหกรณ์ เนื่องจากสมาชิกทั้งผู้แทนจากการเลือกตั้ง, ผู้จัดการ และพนักงานทุกคนล้วนมีความสามารถ และเป็นผู้พัฒนาสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสิ้น
- การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ : สหกรณ์สามารถแสดงความร่วมมือในระดับท้องถิ่น, ระดับชาติ, ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์สามารถให้บริการแก่เหล่าสมาชิกทุกคนได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
- การเอื้ออาทรต่อชุมชน : สหกรณ์จำเป็นที่จะต้องดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน อันเป็นไปตามนโยบายที่ตกลงกันไว้ภายในกลุ่มสมาชิก
ประเภทสหกรณ์
หลังจากที่ทราบความหมายของสหกรณ์ ประวติความเป็นมาของสหกรณ์กันไปแล้ว หลายท่านคงอยากจะทราบว่าสหกรณ์มีอะไรบ้าง โดยในปัจจุบันสหกรณ์ถูกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามพรบ. สหกรณ์ หรือพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 ได้แก่ สหกรณ์จำกัด และสหกรณ์ไม่จำกัดนั่นเอง
โดยสหกรณ์จำกัด หมายถึง สหกรณ์ประเภทที่สมาชิกของสหกรณ์นั้นๆ มีความรับผิดชอบที่จำกัด ซึ่งถูกจำกัดความรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่สมาชิกยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่สมาชิกคนนั้นถือ
สำหรับสหกรณ์ไม่จำกัด หมายถึง สหกรณ์ประเภทที่สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหนี้ของสหกรณ์โดยไม่จำกัดร่วมกันนั่นเอง
ทั้งนี้แม้ว่าในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 จะกำหนดประเภทสหกรณ์ว่ามี 2 ประเภทก็ตาม แต่ในความเป็นจริง หรือในทางปฏิบัตินั้น สหกรณ์ในประเทศไทยสามารถแบ่งประเภทตามประเภทของการบริการที่แต่ละประเภทสหกรณ์มีให้แก่สมาชิกไม่เหมือนกัน โดยประเภทสหกรณ์มีทั้งสิ้น 7 ประเภท อีกทั้งยังสามารถแบ่งประดภทได้ 2 ประเภทใหญ่ ประกอบด้วย สหกรณ์ภาคการเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์ประมง และสหกรณ์นิคม และอีกประเภท ได้แก่ สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ประกอบด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์, สหกรณ์บริการ, สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยประเภทสหกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีสหกรณ์มีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียด ประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์จะได้รับดังนี้
สหกรณ์การเกษตร
ที่มา :
สหกรณ์การเกษตร คือ สหกรณ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเพื่อให้สมาชิกเหล่าเกษตรกรสามารถดำเนินกิจการร่วมกัน ตลอดจนช่วยเหลือกันและกัน และที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางด้านการเงิน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกทุกคน ผ่านบริการการรับฝากเงินจากสมาชิก ตลอดจนบริการด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตรในอัตราดอกเบี้ยต่ำ, การจัดหาวัสดุทางการเกษตรมาจำหน่ายแก่สมาชิก, การจัดหาตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง, การให้ความรู้ด้านการเกษตรรูปแบบใหม่ และ การให้การศึกษาเกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตร โดยสหกรณ์การเกษตรแห่งแรกในประเทศไทยมีชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2459
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรจะได้รับ ได้แก่ การกู้เงินจากสหกรณ์ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ การได้พัฒนาตนเอง มีความรู้ด้านการเกษตร และสหกรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกและครอบครัว
สหกรณ์ประมง
ที่มา :
สหกรณ์ประมง คือ สหกรณ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพชาวประมง โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของพี่น้องชาวประมง ผ่านการจัดหาวัสดุ ตลอดจนอุปกรณ์การทำประมงเพื่อจัดจำหน่ายให้แก่สมาชิกสหกรณ์ประมง, การจัดหาตลาดสำหรับการจำหน่ายสัตว์น้ำ หมายรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำของสมาชิกสหกรณ์ให้แก่ผู้คนทั่วไปในราคาที่ยุติธรรม, การรับฝากเงินจากสมาชิกและการจัดหาเงินกู้ให้แก่สมาชิก เพื่อกู้เงินไปลงทุนต่อยอดการประกอบอาชีพต่อไป, การให้ความอนุเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัวกรณีที่ประสบภัยพิบัติ และการให้ความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนความรู้ด้านการทำธุรกิจประมงแก่สมาชิกภายในสหกรณ์ประมง โดยสหกรณ์ประมงแห่งแรกของประเทศไทย เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นที่ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2492
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์ประมงจะได้รับ ได้แก่ การกู้เงินจากสหกรณ์ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ การได้พัฒนาตนเอง มีความรู้ด้านการประมง ตลอดจนการมีโอกาสได้ซื้อวัสดุอุปกรณ์การประมงในราคายุติธรรมจากสหกรณ์
สหกรณ์นิคม
ที่มา :
สหกรณ์นิคมเป็นรูปแบบหนึ่งของสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมุ่งเน้นการจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิก ตลอดจนการสร้างปัจจัยขั้นพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้อยู่อาศัยคู่ไปกับการจัดหาสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการจัดหาปัจจัยการผลิต การแปรรูปทางการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ และบริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกภายในสหกรณ์นิคม
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์นิคมจะได้รับ ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์จะมีสหกรณ์นิคมเป็นสื่อกลางสำหรับการขอรับบริการจากฝ่ายรัฐบาล ควบคู่ไปกับแหล่งการจัดหาสินเชื่อให้แก่สมาชิก
สหกรณ์ออมทรัพย์
ที่มา :
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นหนึ่งในสถาบันทางการเงิน เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกาฬสินธุ์ เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มจัดตั้งโดยบุคคลที่ประกอบเดียวกัน และ/หรืออาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน ตัวอย่างเช่น หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ, สถานศึกษา ตลอดจนชุมชนต่างๆ โดยมุ่งเน้นในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก รวมไปถึงการช่วยเหลือสมาชิกภายในสหกรณ์ให้มีแหล่งกู้เงินยามจำเป็น
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จะได้รับ ได้แก่ สมาชิกสามารถฝากเงิน และกู้เงินได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องพึ่งการกู้เงินนอกระบบ
สหกรณ์บริการ
ที่มา :
สหกรณ์บริการ คือ สหกรณ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มสามชิกที่ประกอบอาชีพเดียวกัน จำนวนสิบคนขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการะประกอบอาชีพดังกล่าว และเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความมั่นคงในรายได้และการดำรงชีวิต อาทิ สหกรณ์รถแท็กซี่ เป็นต้น
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์บริการจะได้รับ ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์จะเหมือนอยู่ในศูนย์กลางด้านการพัฒนาฝีมือจากการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก่อให้เกิดคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาด
สหกรณ์ร้านค้า
ที่มา :
สหกรณ์ร้านค้าเป็นสหกรณ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้ามาขายให้แก่สมาชิก รวมไปถึงบุคคลทั่วไปอีกด้วย ทั้งนี้สหกรณ์ร้านค้านั้นมีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยที่สมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถถเป็นเจ้าของสหกรณ์ร้านค้าร่วมกันได้ โดยสมาชิกจะต้องลงทุนร่วมกันด้วยความสมัครใจเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสำหรับการจัดหา จัดซื้อเครื่องอุปโภค เครื่องบริโภคต่างๆ ตลอดจนเพื่อรักษาฐานะทางเศรษฐกิจของสหกรณ์ร้านค้านั่นเอง
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์ร้านค้าจะได้รับ ได้แก่ สมาชิกจะมีสถานที่ซื้อขายสินค้าที่มีราคาจัดจำหน่ายตามราคาตลาดในชุมชนในคุณภาพที่ดีเยี่ยม นอกจากนี้สมาชิกจะได้รับเงินปันผลตามสัดส่วนของหุ้นการลงทุน ตลอดจนเงินเฉลี่ยคืนตามสัดส่วนที่ลงทุนในสหกรณ์ร้านค้า
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ที่มา :
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือ สหกรณ์ประเภทอเนกประสงค์ที่ถูกจัดตั้งโดยความสมัครใจของเหล่าสมาชิกซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่นสมาชิกอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน สมาชิกประกอบอาชีพเดียวกัน หรือแม้กระทั่งสมาชิกอยู่ในสถานที่เดียวกัน ตลอดจนประกอบกิจกรรมร่วมกันก็ได้ โดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนั้นมุ่งเน้นให้สมาชิกรู้จักการประหยัด รวมไปถึงการออมเพื่อช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น ตลอดจนเป็นพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงให้แก่สมาชิก และครอบครัวสืบไป
ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะได้รับ ได้แก่ การสร้างนิสัยรักการออม การประหยัด และเพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนที่เหล่าสมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างยั่งยืน และมั่นคง
หุ้นสหกรณ์
เมื่อคุณได้ทราบถึงประเภทสหกรณ์ ตลอดจนประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของแต่ละประเภทสหกรณ์กันไปแล้ว ต่อจากนี้หากคุณต้องการที่จะสมัครสมาชิกสหกรณ์ คุณจำเป็นที่จะต้องทราบถึงหุ้นสหกรณ์เสียก่อน โดยหุ้นสหกรณ์มีรายละเอียดดังนี้ อ้างอิงจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน
ที่มา :
สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสินนั้นสมาชิกทุกคนที่ถูกจัดตั้งในสหกรณ์ดังกล่าว ทั้งสมาชิกสามัญ และสมาชิกสมทบจำเป็นที่จะต้องถือหุ้น รวมไปถึงชำระค่าหุ้นเป็นรายเดือนตั้งแต่ครั้นแรกเข้าสมัครสมาชิก โดยสมาชิกหนึ่งคนไม่สามารถถือหุ้นที่อยู่ภายในสหกรณ์เกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของสหกรณ์ โดยหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสินมีรายละเอียด ดังนี้
การส่งชำระค่าหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน
สมาชิกทุกคนมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของจำนวนเงินได้รายเดือน ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบของสหกรณ์ กรณีที่สมาชิกมีความต้องการที่จะถือหุ้นรายเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้นั้น หรือสมาชิกผู้นั้นต้องการขอซื้อหุ้นเพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้นก็สามารถกระทำได้ โดยต้องแสดงความจำนงขอถือหุ้นสหกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นไปตามคำร้องขอเปลี่ยนแปลงค่าหุ้นรายเดือนนั่นเอง
การถอนหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน
สมาชิกไม่สามารถโอนหุ้นสหกรณ์ที่ตนเองถือครองอยู่ให้กับผู้อื่น รวมไปถึงไม่สามารถถอนหุ้นคืนสู่ตนเองในระหว่างที่กำลังเป็นสมาชิกสหกรณ์อยู่
การงดส่งชำระค่าหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน รายเดือน
สมาชิกผู้ที่ได้ชำระค่าหุ้นมากกว่า 7 ปี ตลอดจนไม่เป็นหนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน สมาชิกผู้นั้นสามารถงดชำระค่าหุ้นรายเดือน รวมไปถึงสามารถลดจำนวนการถือครองหุ้นรายเดือนลงได้ เพียงแค่แสดงความจำนงในเอกสารแบบคำร้องของดส่งชำระค่าหุ้นรายเดือนนั่นเอง
ประโยชน์จากการถือหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสิน
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับจากการถือหุ้นสหกรณ์ ได้แก่ เงินปันผลตามที่ถูกกำหนดไว้ในระเบียบ โดยสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานของธนาคารออมสินจะปันผลเงินให้แก่สมาชิกสองช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย ช่วงแรก หรือที่เรียกว่าทุนเรือนหุ้นยกมานั้นคิดปันผลหุ้นสหกรณ์จากค่าหุ้นที่ถูกยกมาจากปีก่อน และรวมกับค่าหุ้นถึงสิ้นเดือนธันวาคมปีนี้ด้วย และจ่ายปันผลช่วงที่สอง โดยคิดจากการส่งค่าหุ้นระหว่างปี หรือรายเดือนอีกครั้ง จากนั้นสหกรณ์จะนำยอดที่คิดได้ดังกล่าวมาบวกก็จะได้เป็นสรุปยอดเงินปันผลทั้งหมดที่จะได้รับในปีนั้นๆ นั่นเอง โดยวิธีคิดเงินปันผลหุ้นสหกรณ์มีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง
ที่มา :
โดยอัตราการส่งค่าหุ้นรายได้ของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสินมีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง
ที่มา :
จากรูปด้านบน พบว่าหากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสินมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 650 บาทจนถึง 5,000 บาท จะสามารถถือหุ้นสหกรณ์ได้ 150 บาทต่อเดือน ส่วนผู้ที่รายได้มากกว่าเก้าหมื่นบาทต่อเดือน สมาชิกสหกรณ์ผู้นี้สามารถถือหุ้นสหกรณ์ได้ 2,400 บาทต่อเดือน
สหกรณ์ออนไลน์
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเรากำลังอยู่ในโลกแห่งดิจิตอล หรือโลกออนไลน์นั่นเอง หลากหลายธุรกิจ หลากหลายหน่วยงานเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคออนไลน์มากยิ่งขึ้น สหกรณ์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยได้ถือกำเนิดสหกรณ์ออนไลน์ขึ้นมากมายให้ประชาชนสามารถสมัครสมาชิกทางระบบออนไลน์ได้ โดยตัวอย่างสหกรณ์ออนไลน์ที่จะหยิบมาฝากทุกคนในบทความนี้ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด ในระบบออนไลน์ โดยมีรายละเอียด ขั้นตอนการสมัครสมาชิก และขั้นตอนการใช้งานดังต่อไปนี้
ระบบสมาชิกออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด
ระบบสมาชิกออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด เป็นบริการออนไลน์ที่เปิดให้สมาชิกของสหกรณ์นั้นสามารถตรวจสอบข้อมูลในการทำธุรกรรม ตลอดจนบริการต่างๆ ผ่านเว็บไซต์เชิงบริการตนเอง หรือ Self-service บนเว็บไซต์ https://eservice.koratcoop.com นั่นเอง
ขั้นตอนการสมัครระบบสมาชิกออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด
ในส่วนของขั้นตอนการสมัครระบบสมาชิกออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด นั้นก็ง่ายมากๆ เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น เช่นเดียวกับสหกรณ์กรมส่งเสริมเลย
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.koratcoop.com หรือสามารถเข้าไปยัง Shortcut ที่ “ระบบสมาชิกออนไลน์“
- หากคุณยังไม่เคยลงทะเบียนเข้าใช้งาน โปรดกดที่เมนู “ลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ”
- จากนั้นให้คุณกรอกข้อมูลสำหรับการยืนยันตัวตน ประกอบด้วย หมายเลขสมาชิก, เลขประชาชน, วันเดือนปีเกิด และตั้งรหัสผ่านสำหรับใช้งาน
- กดปุ่ม “ลงทะเบียน” เป็นอันเสร็จสิ้น
ขั้นตอนการใช้งานระบบสมาชิกออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด
เมื่อสมัครเป็นสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการใช้งานระบบออนไลน์นั้นก็สะดวกมากๆ เพียง
-
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.koratcoop.com หรือสามารถเข้าไปยัง Shortcut ที่ “ระบบสมาชิกออนไลน์“
- กรอกเลขสมาชิก และกรอกรหัสผ่านตามที่ตั้งไว้
- กดปุ่มเข้าสู่ระบบ
- ใช้งานบริการได้เลย
อ้างอิง